logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ฟิสิกส์
  • เทอร์โมไดนามิค คืออะไร!?

เทอร์โมไดนามิค คืออะไร!?

โดย :
ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
เมื่อ :
วันจันทร์, 08 เมษายน 2562
Hits
14028

          เทอร์โมไดนามิค (Thermodynamics)  เป็นแขนงหนึ่งในวิชาวิทยาศาสตร์ ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะได้ศึกษาตั้งแต่มัธยมปลาย บางท่านอาจจะได้เริ่มรู้จักเมื่อศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย อาจจะเป็นในคณะวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ หรือแม้กระทั่งแพทยศาสตร์ ก็จะได้เรียนวิชาเทอร์โมไดนามิค หรือถ้าบางท่านอาจจะเคยได้ยินชื่อแต่ไม่รู้ว่าเป็นวิชาที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับอะไร วันนี้เราลองมาอ่านเนื้อหาคร่าว ๆ ของวิชานี้กัน เผื่อวันนึงมีคนมาถามเราจะได้ตอบได้อย่างดูชาญฉลาดและถูกต้อง

9593 1

ภาพประกอบเกี่ยวกับความร้อนและความเย็น
ที่มา https://pixabay.com/ ,Natalie_Corot

          เทอร์โมไดนามิค เป็นวิชาที่ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความร้อน (Heat), งาน (Work), อุณหภูมิ (Temperature), และพลังงาน (Energy) หรือสามารถพูดแบบกว้าง ๆ ได้ว่า เป็นวิชาที่ทำการศึกษาการถ่ายโอนพลังงานจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง จากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่ง เช่น น้ำที่กลายเป็นไอน้ำ น้ำแข็งที่ละลายกลายเป็นน้ำ รวมทั้งยังศึกษาการเปลี่ยนรูปแบบพลังงานความร้อน (Heat Energy) ไปเป็นพลังงานกล (Mechanical Work) อีกด้วย

          จริง ๆ แล้วความร้อนไม่ได้ถูกนิยามว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของพลังงาน จนเมื่อปี ค.ศ.1798 วิศวกรทหารชาวอังกฤษที่มีชื่อว่า Count Rumford (Sir Benjamin Thompson) ได้สังเกตเห็นว่าในทุก ๆ ครั้งที่ยิงปืนใหญ่จะมีความร้อนเกิดขึ้นมาด้วย นอกจากนั้นเค้ายังเห็นว่าความร้อนที่เกิดขึ้นยิ่งมีมาก แรงในการยิงปืนใหญ่ก็จะมีมากตามไปด้วย เป็นอัตราส่วนแบบแปรผันตรงซึ่งกันและกัน นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของวิชาเทอร์โมไดนามิค

          แต่วิชานี้ไม่ได้มีจุดเริ่มต้นเพียงแหล่งเดียว ในปี ค.ศ.1824 เป็นอีกจุดเริ่มต้นของวิชานี้โดยเริ่มต้นมาจากคนผู้หนึ่งที่สามารถคิดค้นแนวคิดของวัฏจักรเครื่องจักรกลความร้อนและทฤษฎีการย้อนกลับได้ของพลังงาน ซึ่งคนผู้นั้นคือวิศวกรทหารชาวฝรั่งเศสนามว่า Sadi Carnot ที่สร้างทฤษฎีที่ชื่อว่า Carnot’s Work ซึ่งเป็นทฤษฎีที่เกี่ยวกับการพิจารณางานสูงสุดที่จะได้รับจากเครื่องจักรกลไอน้ำ (เครื่องจักรกลอุณหภูมิสูงที่ขับเคลื่อนด้วยการใช้หลักการของการถ่ายเทความร้อน) หลังจากนั้นหนึ่งศตวรรษก็ได้มีการศึกษาและพัฒนาแนวคิดนี้จากนักคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่อว่า Rudolf Clausius จนเกิดเป็นกฎข้อที่ 1 และ 2 ของเทอร์โมไดนามิค

สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเทอร์โมไดนามิค

          สิ่งที่เป็นหัวใจของเทอร์โมไดนามิคนั้นคือกฎทั้ง 4 ข้อ โดยเริ่มจากกฎข้อที่ 0 ถึง 3 (เริ่มจากกฎข้อที่ 0 เพราะว่าในตอนแรกมีกฎแค่สามข้อ คือ ข้อที่หนึ่งถึงสาม แต่ต่อมาได้มีการบัญญัติกฎข้อที่ศูนย์เพิ่มเติมซึ่งเป็นพื้นฐานของกฎทั้งสามข้อ จึงถูกตั้งเป็นกฎข้อที่ 0)

         กฎข้อที่ 0 กล่าวว่า เมื่อมีระบบ 2 ระบบที่อยู่ในสภาวะ Thermal Equilibrium (สภาพสมดุลทางความร้อน) กับระบบที่สาม จะทำให้ระบบที่สามอยู่ในสภาวะ Thermal Equilibrium ด้วย (กฎข้อนี้เป็นหลักการการทำงานของเทอร์โมมิเตอร์)

          กฎข้อที่ 1 เป็นกฎของการอนุรักษ์พลังงาน ที่กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงของระดับพลังงานภายในของระบบจะมีค่าเท่ากับความแตกต่างของค่าความร้อนจากสิ่งแวดล้อมที่เข้าสู่ระบบกับงานที่ระบบกระทำต่อสิ่งแวดล้อม

          กฎข้อที่ 2 อธิบายเกี่ยวกับตัวแปรที่เป็นตัวกำหนดทิศทางของการเกิดกระบวนการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางกายภาพหรือทางเคมีซึ่งตัวแปรที่สำคัญเกี่ยวกับการกำหนดทิศทางของการเกิดกระบวนการต่าง ๆ คือเอนโทรปี (ความไม่เป็นระเบียบของระบบซึ่งหมายถึงการเกิดการกระจายตัว (dispersal) ของวัตถุ,สสาร, อะตอม,โมเลกุล หรือแม้แต่ การกระจายตัวของพลังงาน)

         กฎข้อที่ 3 กล่าวว่าที่อุณหภูมิ 0 K อะตอมที่อยู่ในผลึกที่สมบูรณ์แบบ(perfect crystal)จะไม่เกิดการเคลื่อนที่ (เนื่องจากไม่มีพลังงานความร้อน) ดังนั้นอะตอมเหล่านี้จะจัดเรียงอยู่อย่างเป็นระเบียบที่สุด นั่นคือ จัดเรียงตัวได้เพียงแบบเดียวเท่านั้นหรือ หรือกล่าวได้ว่า ระบบไม่มีความไม่เป็นระเบียบเหลืออยู่เลย เพราะฉะนั้นค่าเอนโทรปีของระบบผลึกที่สมบูรณ์แบบที่อุณหภูมิศูนย์องศาเคลวินจะมีค่าเป็น ศูนย์ ซึ่งกฎข้อนี้มีความสำคัญคือในกฎข้อที่ 2 ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงเอนโทรปีเมื่อเกิดกระบวนการต่าง ๆ แต่ว่าค่าที่คำนวณได้จากกฎข้อที่ 2 นั้นเป็นเพียงค่าการเปลี่ยนแปลงเอนโทรปีเท่านั้น ดังนั้นในการที่จะหาค่าเอนโทรปีของระบบที่อุณหภูมิใด ๆ นั้นจำเป็นต้องอาศัยกฎข้อที่ 3 ซึ่งนิยามเอนโทรปีของระบบที่ ศูนย์องศาเคลวิน

แหล่งที่มา

Gordon W.F. Drake. Thermodynamics.  Retrieved November 24, 2018, from https://www.britannica.com/science/thermodynamics

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
เทอร์โมไดนามิค, Thermodynamics, ความร้อน, อุณหภูมิ
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันเสาร์, 24 พฤศจิกายน 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 9593 เทอร์โมไดนามิค คืออะไร!? /article-physics/item/9593-2018-12-13-07-52-43
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ความหวานจากน้ำตาลธรรมชาติ
ความหวานจากน้ำตาลธรรมชาติ
Hits ฮิต (20304)
ให้คะแนน
ความหวานจากน้ำตาลธรรมชาติ น้ำตาลถือว่าเป็นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเช่น เดียวกับที่มีอยู่ในข้าว เส้นก ...
ประวัติศาสตร์ของการบริโภคนม
ประวัติศาสตร์ของการบริโภคนม
Hits ฮิต (17925)
ให้คะแนน
ประวัติศาสตร์ของการบริโภคนม นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งกำลังสืบหากลุ่มคนกลุ่มแรกที่รีด “นม-ของเหลวทรงค ...
กินอิ่มแล้วจะเรอ แล้วอาการเรอเกิดจากอะไร!!
กินอิ่มแล้วจะเรอ แล้วอาการเรอเกิดจากอะไร...
Hits ฮิต (28936)
ให้คะแนน
เคยสังเกตไหมเมื่อเวลาเรากินอาหารอิ่มมากๆแล้วจะเรอ หรือเวลาเราดื่มน้ำอัดลมแล้วก็จะเกิดอาการเรอ ที่มี ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)